ไทย
ไทย
TOP
Feature
เทศกาลปีใหม่ในประเทศญี่ปุ่น เขาทำอะไรกันบ้าง?
2018-12-27

เทศกาลปีใหม่ในประเทศญี่ปุ่น เขาทำอะไรกันบ้าง?

ปีหนึ่งผ่านไปไวเหมือนโกหกเลย นี่ก็เข้าใกล้สิ้นปีอีกแล้ว ทุกคนมีแพลนจะทำอะไรกันบ้างเอ่ย? วันปีใหม่แต่ละประเทศอาจจะดูคล้ายๆกันก็จริง แต่ก็มีความต่างกันออกไป ทุกคนทราบไหมคะว่าที่ญี่ปุ่นวันส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่นั้นทำอะไรกันบ้าง วันนี้จะมาแนะนำสิ่งที่ชาวญี่ปุ่นทำกันในวันสุดท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ค่ะ

สั่นระฆังกลางคืนต้อนรับปีใหม่

ในคืนวันสิ้นปี(31ธ.ค.)ที่วัดในญี่ปุ่นนั้นจะมีการเตรียมสั่นระฆังในเวลา 00:00 ของวันที่ 1 ม.ค.เพื่อต้อนรับปีใหม่ เป็นพิธีกรรมที่มีแบบแผนมาจากศาสนาพุทธ ที่ทำเพื่อปัดเป่าความทุกข์ ความเศร้าโศก และเรื่องร้ายๆออกไป และเปิดต้อนรับความรู้สึกใหม่เข้ามาในจิตใจ จะมีการสั่นระฆังทั้งหมด 108 ครั้ง เพราะเชื่อว่าเป็นจำนวนของกิเลสที่อยู่ในจิตใจของมนุษย์  มีผู้คนจำนวนมากเดินทางไปยังวัดเพื่อสั่นระฆัง แต่ละคนค่อนข้างใช้เวลาเพราะจำนวนครั้งที่ต้องสั่นนั้นถูกกำหนดไว้ 108 ครั้ง วัดบางแห่งได้ทำการออกบัตรคิวเพื่อไม่ให้เสียเวลาในการต่อคิว หลังจากทำการสั่นระฆังแล้วจะมีอามะสาเก(amasake) หรือแปลว่าเหล้าหวาน แจกให้ดื่มฟรี เหล้านี้ไม่มีแอกอฮอลล์ผสมอยู่ เด็กก็สามารถดื่มได้

ทำความสะอาดครั้งใหญ่

ในวันสิ้นปีที่ประเทศญี่ปุ่นจะทำความสะอาดครั้งใหญ่ ซึ่งอาจจะเหมือนที่ประเทศไทยในหลายๆบ้านใช่ไหมคะ ที่ประเทศญี่ปุ่นทำความสะอาดครั้งใหญ่ในวันนี้เพื่อปัดเป่าสิ่งไม่ดีออกไปจากบ้าน ซึ่งมีต้นกำเนิดมาตั้งแต่สมัยเอโดะ(ปี1603~ปี1868) ในสมัยนั้นในฤดูหนาวจะต้องเผาฟืนเพื่อสร้างความอบอุ่นให้กับร่างกาย เมื่อมีการเผาฟืนก็จะมีควัน เมื่อมีควันก็จะมีเขม่า ในช่วงก่อนวันปีใหม่จึงมีการทำความสะอาดเขม่าทั้งหลายเหล่านี้ จนกลายมาเป็นวัฒนธรรมการทำความสะอาดครั้งใหญ่ในปัจจุบัน ในสมัยนั้นจะเริ่มทำความสะอาดกันตั้งแต่วันที่ 13 ธ.ค. แต่ในสมัยนี้นั้นไม่มีกำหนดที่แน่นอนแต่ยังมีการทำความสะอาดใหญ่เหมือนกับในสมัยก่อนหลงเหลืออยู่ เพื่อเป็นการปัดเป่าสิ่งเลวร้ายของปีเก่าออกไป และต้อนรับสิ่งใหม่ๆ ความรู้สึกที่สดใสในปีใหม่ที่จะมาถึง

เขียนการ์ดอวยพรปีใหม่

เขียนการ์ดอวยพรปีใหม่ส่งทางไปรษณีย์เพื่อเป็นการสวัสดีปีใหม่ กล่าวทักทายด้วยคำอวยพรปีใหม่ แล้วขอบคุณรื่องดีๆเมื่อปีที่แล้ว ในสมัยเฮอันมีวัฒนธรรมการกล่าวขอบคุณผู้มีพระคุณกับตนในวันขึ้นปีใหม่ จะต้องเดินทางไปตามบ้านเรือนต่างๆเพื่อกล่าวสวัสดีในปีใหม่ซึ่งเป็นเรื่องที่ยากลำบากอย่างมาก เมื่อเข้าสู่ยุคสมัยเอโดะการพบปะสังสรรค์และทำมาค้าขายก็มีวงกว้างมากขึ้น การเดินทางเพื่อกล่าวทักทายเหมือนกับสมัยก่อนนั้นเป็นเรื่องที่เสียเวลาจึงเริ่มมีการเขียนจดหมายในการกล่าวทักทายสวัสดีปีใหม่เกิดขึ้น จะทำการส่งภายในวันที่ 25 ธ.ค.เพื่อให้ถึงผู้รับพอดีวันที่ 1 ม.ค.

ทานโซบะ

เส้นโซบะนั้นเมื่อเทียบกับอาหารประเภทเส้นประเภทอื่นแล้วนั้นขาดง่ายกว่าเส้นประเภทอื่นๆ เพราะว่าขาดง่ายจึงทำให้เกิดความหมาย "ตัดขาดกับเรื่องร้ายๆของปีที่ผ่านมา" กลางคืนวันที่ 31 ธ.ค.จึงได้มีประเพณีการทานโซบะเกิดขึ้น อีกทั้งเวลาที่ทำเส้นโซบะนั้นมีลักษณะยาวและตัดให้เป็นเส้นเล็กได้ จึงทำให้เกิดความหมาย "ในปีใหม่นี้ขอให้มีสุขภาพแข็งแรง อายุยืนยาว" โซบะนั้นมีหลายประเภทด้วยกัน โซบะในน้ำซุปร้อนนั้นเรียกว่า "คะเคะโซบะ(Kake Soba)" ส่วนโซบะเย็นนั้นเรียกว่า "ซารุโซบะ(Saru Soba)" สาถมารถทานได้ทั้งสองประเภท สิ่งสำคัญคือควรทานก่อนถึงวันขึ้นปีใหม่

ชมทีวีรายการเพลงโคฮาคุอุตะกัตเซ็น(KOHAKU UTA GASSEN/紅白歌合戦)

ตั้งแต่ปี 1951 เป็นต้นมา รายการเพลงที่ถ่ายทอดสดในวันที่ 31 ธ.ค.ได้ถือกำเนิดขึ้น ในยุคแรกเป็นวิทยุ และในต่อมาในปี 1953 ได้กลายเป็นรายการทีวี เป็นรายการทีวีที่มีมาตั้งแต่สมัยก่อน มีประวัติศาสตร์ที่ยาวนาน ศิลปินฝ่ายหญิงจะเป็นทีมสีแดง ส่วนศิลปินฝ่ายชายจะเป็นทีมสีขาว ในรายการจะรวมศิลปินที่เป็นที่นิยมแห่งปีให้มาแสดงฝีมือในรายการ เป็นรายการที่ไม่มีคนญี่ปุ่นคนไหนไม่รู้จัก รายการนี้จะถ่ายทอดจนถึง 23:45 เมื่อรายการจบลงจะมีเสียงระฆังดังขึ้น ก่อนอ่านบทความนี้คุณคิดว่าชาวญี่ปุ่นทำอะไรในวันปีใหม่กันเอ่ย? ใครที่มาเที่ยวประเทศญี่ปุ่นในช่วงปีใหม่อย่าลืมมาไหว้พระอวยพรปีใหม่เหมือนกับคนญี่ปุ่นดูนะ อาจจะมีสิ่งดีๆเข้ามาต้อนรับปีใหม่ก็ได้นะคะ
★ คูปองส่วนลดในการช็อปปิ้งญี่ปุ่น หรือโปรแกรมแปลภาษาสินค้าต้อง IKIDANE App★ iOS / AndroidIKIDANE NIPPON LINE@
หากชอบบทความของเรา สามารถติดตาม Facebook FanPage ของเราได้
Let us know if there is something that needs to be fixed: Feedback Form