มารยาทในการใช้ตะเกียบ
หลายคนคงทราบดีว่าวัฒนธรรมการรับประทานอาหารของคนญี่ปุ่นนั้นคนญี่ปุ่นใช้ตะเกียบในการรับประทานอาหาร หรือที่คนญี่ปุ่นเรียกว่า ฮาชิ(Hashi) ต่างจากวัฒนธรรมการทานอาหารของประเทศไทยของเราที่ใช้ช้อนและส้อมในการรับประทานอาหาร หลายคนอาจใช้ตะเกียบได้แต่หลายคนใช้ตะเกียบไม่ถนัดกันใช่ไหม การมาท่องเที่ยวญี่ปุ่นแล้วรับประทานอาหารนั้นหากต้องการหลีกเลี่ยงการใช้ตะเกียบนั้นค่อนข้างเป็นไปได้ยาก หลายคนอาจมองว่าตะเกียบนั้นหยิบจับอาหารได้ยาก แต่สำหรับลักษณะอาหารของญี่ปุ่นนั้นหากใช้ตะเกียบจะสามารถหยิบจับได้ง่าย โดยเฉพาะการคีบข้าว ข้าวของญี่ปุ่นนั้นมีลักษณะจับตัวกันเป็นก้อน มีความหยืดหยุ่นเหนียวเด้งในตัว ซึ่งต่างจากข้าวบ้านเราที่มีลักษณะไม่จับตัวกันเป็นเม็ดๆ จึงเหมาะแก่การใช้ช้อนมากกว่าตะเกียบ วันนี้เราจะมาบอกข้อควรระวังในการใช้ตะเกียบ หรือ ข้อห้ามในการใช้ตะเกียบ เพื่อไม่ให้เกิดการเข้าใจผิดทางวัฒนธรรม×Tate-bashi การปักตะเกียบ
การปักตะเกียบลงบนข้าวเป็นสิ่งที่ห้ามทำเป็นอย่างยิ่ง!! คนไทยหลายคนอาจทราบกันว่าเวลาไหว้เจ้าหรือเซ่นไหว้ของแก่เทพเจ้าสิ่งศักดิ์สิทธิ์จะมีการปักตะเกียบลงบนข้าวเช่นนี้ ที่ญี่ปุ่นก็มีความหมายเดียวกัน คือ การเซ่นไหว้ของให้แก่ผู้ที่จากโลกนี้ไปแล้ว หรือเพื่อทำพิธีกรรมทางศาสนา เป็นสิ่งที่ไม่ควรทำอย่างยิ่งในการรับประทานอาหาร!×Sashi-bashi การเสียบตะเกียบลงในอาหาร
ห้ามใช้ตะเกียบเสียบลงในอาหาร!! คนไทยหลายคนอาจเคยชินกับการใช้ส้อมจิ้มลงในอาหารเพื่อทานหรือใช้ไม้เสียบลูกชิ้น แต่สิ่งนี้เป็นสิ่งที่ห้ามทำในการใช้ตะเกียบ!! เหตุผลนั่นก็เพราะว่าอาหารหรือกับข้าวที่มีลักษณะกลมนั้นหากเสียบพลาด มีโอกาสที่จะกระเด็นออกมาจากภาชนะได้ ทำให้ดูสกปรก อีกเหตุผลคือเป็นการไม่ใช่เกียรติเชฟที่ทำอาหาร หากทำเสียบแยกชิ้นเนื้อเพื่อดูภายในว่าสุกไหม เท่ากับเป็นการไม่เชื่อใจฝีมือของเชฟนั่นเอง×Watashi-bashi การไม่วางตะเกียบลงบนที่วางตะเกียบ
ห้ามพักตะเกียบลงบนชามข้าวหรือกับข้าวระหว่างรับประทานอาหาร!! การไม่วางตะเกียบลงบนที่วางตะเกียบ แต่วางตะเกียบลงบนภาชนะที่ใส่อาหารโดยตรงนั้นเป็นสิ่งที่ไม่ควรทำในการรับประทานอาหารในประเทศญี่ปุ่น ทำไมถึงวางไม่ได้? น่ารำคาญจะตายนั่นก็เพราะว่า
ควรวางบนที่วางตะเกียบ และหากไม่มีที่วางตะเกียบมาให้ควรทำอย่างไร? ตะเกียบนั่นมักมาพร้อมกับซองใส่ตะเกียบ ควรพับซองตะเกียบให้เป็นที่วางตะเกียบแทน อาจฟังดูยุ่งยาก แต่เป็นมารยาทในการรับประทานอาหารของที่ญี่ปุ่นค่า วิธีการพับที่วางตะเกียบSashi-bashi* การใช้ตะเกียบชี้
ห้ามใช้ตะเกียบชี้คน!!!เพราะว่า
โดยปกติแล้วการชี้นั้นเป็นการออกคำสั่ง ดังนั้นในระหว่างรับประทานอาหารไม่ควรใช้ตะเกียบชี้ใคร เป็นเรื่องที่เสียมารยาทและทำให้ผู้ที่ร่วมรับประทานอาหารด้วยนั่นเสียอารมณ์ ลองจินตนาการว่าทานอาหารอยู่แล้วเจ้านายเดินมาชี้ออกคำสั่งให้ทำโน้นนี่ เป็นคุณก็คงจะไม่ชอบใช่ไหมละคะYose-bashi การใช้ตะเกียบดึงจานชามเข้าหาตัวเอง
ห้ามใช้ตะเกียบดึงจานหรือชามเข้าหาตนเอง!! สำหรับการทานกับข้าวในบ้านหรือทานคนเดียว เวลาที่ต้องการเอื้อมหยิบอาหารจานที่อยู่ไกลอาจจะทำเป็นเรื่องปกติจนเคยชิน แต่สำหรับการรับประทานอาหารร่วมกับผู้อื่นแล้วถือเป็นเรื่องเสียมารยาทNeburi-bashi การเลียตะเกียบ
ห้ามเลียหรือกัดตะเกียบ!! ระหว่างรับประทานอาหารคงมีหลายครั้งที่ข้าวติดตะเกียบใช่ไหม? คุณลองนึกภาพคนที่นั่งเลียตะเกียบเพื่อเอาข้าวที่ติดตะเกียบออก คุณจะรู้สึกอย่างไร? ก็คงไม่ค่อยดีใช่ไหมคะ สำหรับการทานอาหารกับคนใกล้ตัวอย่างเพื่อนหรือครอบครัวอาจเป็นเรื่องปกติ แต่ในการทานอาหารอย่างเป็นทางการกับลูกค้าหรือที่ทำงานค่อนข้างเป็นเรื่องที่เสียมารยาทค่ะถ้าข้าวติดตะเกียบจะทำยังไงล่ะ!!?
ในทางการนั้นควรนำกระดาษที่ห่อกับตะเกียบเช็ดออก แต่ในความเป็นจริงมีใครจะทำเรื่องยุ่งยากแบบนั้นไหม!!? ระหว่างที่อีกฝ่ายไม่รู้ตัวให้เอาตะเกียบจุ่มลงในถ้วยชาค่ะ!! แบบไม่ให้เจ้าตัวรู้นะUtsuri-bashi or Watari-bashi การหยิบอาหารแล้ววางลงที่เดิม
ห้ามใช้ตะเกียบหยิบอาหารแล้ววางลงที่เดิม เข้าใจว่าบางทีหยิบขึ้นมาแล้วเกิดเปลี่ยนใจอยากหยิบอีกอย่างหนึ่ง แต่นั่นเป็นการเสียมารยาท เพราะซอสของอาหารทั้งสองอย่างนั้นอาจไม่เหมือนกัน ทำให้เลอะอาหารอีกจานหนึ่งได้ แนะนำว่าควรคิดให้ดีก่อนแล้วค่อนหยิบ หรือหยิบอย่างแรกลงในจานของตัวเองก่อนแล้วจึงหยิบอาหารชิ้นถัดไปนะคะ×Mayoi-bashi การวนตะเกียบ
ห้ามยกตะเกียบขึ้นมาวน ลังเลไม่เลือกอาหาร!! มาโยย(Mayoi)ในภาษาญี่ปุ่นแปลว่า "หลงทาง" เวลามีอาหารน่าอร่อยวางอยู่เต็มโต๊ะคงจะเลือกไม่ได้ใช่ไหมละคะ ทานอันไหนดีน้า~ เป็นเรื่องที่ดีก็จริง แต่ในทางกลับกันสามารถคิดได้ในอีกมุมมอง นั่นก็คือ "อันไหนอร่อยกันแน่น้า?" ดังนั้นควรมองด้วยตาแล้วเลือกก่อนจะใช้ตะเกียบยื่นออกไปคีบอาหารกันดีกว่า×Hiroi-bashi or Awase-bashi การส่งอาหาร-รับอาหารโดยตะเกียบ
ห้ามส่งอาหารให้ผู้อื่นใช้ตะเกียบคีบรับอาหาร!! บางทีอยากจะส่งอาหารให้กับอีกฝ่ายแต่ทำไมถึงไม่ได้ล่ะ!!?
นั่นก็เพราะว่าในพิธีงานศพ หลังจากทำการเผาแล้วจะมีการส่งมอบอัฐิโดยการใช้จะเกียบส่งและรับด้วยตะเกียบ จึงไม่ควรใช้วิธีเดียวกันในโต๊ะอาหารแล้วควรทำยังไง?
วางอาหารลงบนจานของอีกฝ่าย แค่นี้ก็ไม่เป็นไรแล้ว!! ทราบกันแล้วว่าสิ่งใดไม่ควรทำในการใช้ตะเกียบทานอาหารในญี่ปุ่น ควรรักษามารยาทและเคารพวัฒนธรรมของกันและกันเพื่อไม่ให้เกิดความเข้าใจผิดกัน★ คูปองส่วนลดในการช็อปปิ้งญี่ปุ่น หรือโปรแกรมแปลภาษาสินค้าต้อง IKIDANE App★ iOS / Android ★IKIDANE NIPPON LINE@★
หากชอบบทความของเรา สามารถติดตาม Facebook FanPage ของเราได้