ไทย
ไทย
TOP
Feature
ทำไมเจ้าสาวญี่ปุ่นต้องเปลี่ยนสีชุดระหว่างพิธี ทั้งหมดมีความหมายซ่อนอยู่
2018-07-23

ทำไมเจ้าสาวญี่ปุ่นต้องเปลี่ยนสีชุดระหว่างพิธี ทั้งหมดมีความหมายซ่อนอยู่

ชุดแต่งงาน
คุณทราบกันหรือไม่ว่า งานแต่งงานของญี่ปุ่นเจ้าสาวต้องใส่ชุดเดรสสีขาวเท่านั้น? และในระหว่างพิธีจะมีมีการเปลี่ยนสีของชุดด้วย ทั้งหมดนี้มีความหมายลึกซึ่งซ่อนอยู่ เพราะอะไรเราไปดูกันเลยดีกว่า มารยาทการร่วมงานแต่งงานญี่ปุ่น
ชุดแต่งงาน

ที่มาของชุดเดรสสีขาวในประเทศญี่ปุ่น

หลายคนอาจจะทราบดีว่าที่ญี่ปุ่นนั้นก็มีการจัดงานแต่งงานพิธีแบบญี่ปุ่น และแบบสากลที่ใส่ชุดเดรส ในต่างประเทศนั้นชุดเดรสแต่งงานมีหลากหลายสีสัน ขึ้นอยู่กับความชอบของคู่บ่าวสาวที่จัดงาน เหตุที่ทั่วโลกนิยมใส่ชุดเดรสสีขาวนั่นก็เพราะพิธีแต่งงานของเจ้าหญิงวิคตอเรีย แห่งประเทศอังกฤษ จากนั้นก็ถูกดัดแปลงชุดให้สวมใส่ง่ายขึ้นในเวลาถัดมา และเป็นที่นิยมอย่างแพร่หลายในทั่วโลก ญี่ปุ่นเองก็เช่นกัน
ชุดคนตาย

แต่เดิมชุดขาวในญี่ปุ่นหมายถึงคนตาย

ในสมัยก่อนประเทศญี่ปุ่นจะใส่ชุดขาวให้กับศพ ซึ่งมีความหมายตรงกันข้ามกันกับชุดเดรสสีขาวในพิธีสากล อาจจะฟังดูแล้วน่ากลัวก็ตาม แต่ในพิธีแต่งงานนั้นการใส่ชุดขาวนั้นหมายถึง “ช่วยย้อมฉันด้วยสีของคุณ” ซึ่งพิธีนี้เรียกว่า Oironaoshi(お色直し)
ชุดแต่งงาน

การเปลี่ยนสีชุดระหว่างพิธี

การเปลี่ยนสีชุดระหว่างพิธีนั้นมีต้นกำเนิดในช่วงยุคสมัยนาระ ในสมัยนั้นหากแต่งงานแล้วจะต้องสวมชุดขาวไม่มีลายเป็นเวลาสามวัน เมื่อถึงวันที่4จึงจะสามารถใส่ชุดมีสีได้ ซึ่งมีความหมายว่า เราได้ถูกย้อมให้เข้ากับบ้านของเจ้าบ่าว และเป็นเจ้าสาวของครอบครัวนี้แล้ว วัฒนธรรมนี้ยังคงหลงเหลืออยู่แม้ในปัจจุบัน แต่ในปัจจุบันนั้นก็คือการเปลี่ยนสีของชุดระหว่างพิธีแต่งงานนั่นเอง
ชุดแต่งงาน

ช่วยย้อมฉันด้วยสีของคุณ Oironaoshi(お色直し)

ในปัจจุบันพิธีแต่งงานของชาวญี่ปุ่นนั้นบางทีมีการเปลี่ยนสีของชุดระหว่างพิธี บางคู่เปลี่ยน 2-3 ชุด หรือบางคู่ก็ชุดเดียวจนจบงาน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับงบประมาณและความชอบของคู่บ่าวสาว
ชุดแต่งงาน
อีกหนึ่งเหตุผลนอกเหนือจาก Oironaoshi(お色直し) ย้อนกลับมายุคเอโดะกันซักหน่อย ในสมัยนั้นชุดแต่งงานนั้นค่อนข้างมีสีสันฉูดฉาด ถึงขั้นแฟนซีก็ว่าได้ แต่พอเมื่อถึงยุคเซ็นโกะคุ เริ่มมีการยกลูกสาวให้อีกฝ่ายเพื่อเป็นไส้ศึก หรือเพื่อปรองดองระหว่างครอบครัว ซึ่งเป็นการแต่งงานเพื่อธุรกิจนั่นเอง จึงเกิดพิธีการใส่ชุดสีขาวซึ่งเป็นชุดของคนตายในวันแต่งงาน เพื่อเป็นการยืนยันว่าลูกสาวได้จบชีวิตลงในวันนี้ ตัดขาดกับที่บ้านเก่า = ฉันไม่ใช่สปายแน่นอน ซึ่งเป็นอีกความหมายนอกเหนือจาก “ช่วยย้อมฉันด้วยสีของคุณ” มารยาทการร่วมงานแต่งงานญี่ปุ่น
★ คูปองส่วนลดในการช็อปปิ้งญี่ปุ่น หรือโปรแกรมแปลภาษาสินค้าต้อง IKIDANE App★ iOS Android หากชอบบทความของเรา สามารถติดตาม Facebook FanPage ของเราได้
Let us know if there is something that needs to be fixed: Feedback Form