ไทย
ไทย
TOP
Feature
ปีนักษัตรญี่ปุ่นต่างกับไทยยังไง
2018-12-27

ปีนักษัตรญี่ปุ่นต่างกับไทยยังไง

ปีนักษัตรญี่ปุ่น
วันนี้จะมาแนะนำ 12 ปีนักษัตรของญี่ปุ่นนั้นต่างกับที่ไทยเล็กน้อยค่ะ ต่างกันอย่างไรไปดูกันเลยดีกว่า

十二支 (Juunishi) 12 ปีนักษัตร

ปีนักษัตรญี่ปุ่น
ในภาษาญี่ปุ่นปีนักษัตรคือคำว่า Eto(干支) ในแต่ละปีจะมีจะมีสัตว์ประจำปีนั้นๆที่คอยปกป้องรักษา คุ้มครองดูแลปีนั้นๆ ซึ่งในภาษาญี่ปุ่นเรียกว่า Juunishi(十二支) โดยมีต้นกำเนิดความเชื่อนี้มาจากประเทศจีนเช่นเดียวกับบ้านเราค่ะ แต่จะมีความแตกต่างนิดหน่อย ปีของญี่ปุ่นจะมีดังด้านล่างนี้
●ปีชวด Ne(子) ●ปีฉลู Uchi(丑) ●ปีขาล Tora(寅) ●ปีเถาะ U(卯) ●ปีมะโรง Tatsu(辰) ●ปีมะเส็ง Mi(巳) ●ปีมะเมีย Uma(午) ●ปีมะแม Hitsuji(未) ●ปีวอก Saru(申) ●ปีระกา Tori(酉) ●ปีจอ Inu(戌) ●ปีกุน I(亥)
พอจะสังเกตเห็นกันไหมคะว่าปีไหนที่ต่างกับที่ไทยบ้าง? ①ปีมะแม หรือปีแพะของไทย คนญี่ปุ่นเรียกว่าปีแกะปีกุน หรือปีหมูของไทย คนญี่ปุ่นเรียกว่าปีหมูป่า

ความเชื่อเกี่ยวกับปีนักษัตรของชาวญี่ปุ่นกับชาวไทย

ปีนักษัตรญี่ปุ่น
ความเชื่อเกียวกับปีนักษัตรของไทยกับญี่ปุ่นนั้นค่อนข้างมีความคล้ายคลึงกัน จุดที่เหมือนกันคือมีการเริ่มนับจากปีชวดเป็นปีแรก จบที่ปีกุนเป็นปีสุดท้าย จุดที่ต่างกันคือ สำหรับชาวไทยนั้นความเชื่อเรื่องปีนักษัตรยังสัมพันธ์กับศาสนาพุทธ และมีการไปกราบนมัสการไหว้พระธาตุประจำปีเกิดของตนเพื่อเป็นศิริมงคลแก่ตนเอง ส่วนชาวญี่ปุ่นเชื่อว่าสัตว์ประจำปีนักษัตรนั้นจะบอกนิสัยให้กับผู้ที่เกิดปีนั้น
ปีนักษัตรญี่ปุ่น
นอกจากนี้ญี่ปุ่นยังมีวัฒนธรรมการส่งการ์ดอวยพรปีใหม่อีกด้วย โดยลวดลายของโปสการ์ดนั้นจะมีสัตว์ประจำปีที่กำลังจะถึง เป็นวัฒนธรรมที่น่ารักดีนะคะ
★ คูปองส่วนลดในการช็อปปิ้งญี่ปุ่น หรือโปรแกรมแปลภาษาสินค้าต้อง IKIDANE App★ iOS / AndroidIKIDANE NIPPON LINE@
หากชอบบทความของเรา สามารถติดตาม Facebook FanPage ของเราได้
Let us know if there is something that needs to be fixed: Feedback Form