ไทย
ไทย
TOP
Feature
อย่ากินทิ้งกินขว้าง อย่าใช้ทิ้งใช้ขว้าง จิตสำนึกดี ๆ ของคนญี่ปุ่นที่น่าเอาเป็นแบบอย่าง
2018-02-20

อย่ากินทิ้งกินขว้าง อย่าใช้ทิ้งใช้ขว้าง จิตสำนึกดี ๆ ของคนญี่ปุ่นที่น่าเอาเป็นแบบอย่าง

อย่ากินทิ้งกินขว้าง อย่าใช้ทิ้งใช้ขว้าง จิตสำนึกดี ๆ ของคนญี่ปุ่นที่น่าเอาเป็นแบบอย่าง
คนญี่ปุ่นสอนเรื่องการรู้จักคุณค่าของสิ่งของและไม่ใช้ของทิ้งขว้าง ภาษาญี่ปุ่นมีคำว่า Mottainai (もったいない)ศัพท์คำนี้มีความหมายว่า “น่าเสียดาย” แปลง่าย ๆ คือ หากเรามีของบางสิ่งบางอย่างที่ยังสามารถใช้ได้อยู่แต่กลับโยนทิ้งไปก็เป็นสิ่งที่เรียกว่า “น่าเสียดาย” จริง ๆ เลยค่ะ

คำว่ามตไตไน่(mottainai)

วันก่อนนั่งดูคลิปเด็กผู้ชายหน้าตามอมแมมอยู่ในบ้านโกโรโกโสกำลังจ้วงข้าวเปล่า ๆ กินอย่างน่าสงสารโดยไม่มีกับข้าวเลยสักอย่างก็พลางทำให้นึกถึงบรรดาคนมีอันจะกินรอบตัวบางคนที่มักจะกินข้าวเหลือทิ้งครึ่งจานเป็นเรื่องปรกติ บางคนสั่งอาหารมาเยอะ ๆ และก็ต้องโยนทิ้ง หรือบางทีไปกินบุฟเฟ่ต์ตักมาจนล้นแต่กลับกินไม่หมด ซึ่งตรงกับสถิติที่เคยมีการสำรวจไว้ว่า 30-50% ของอาหารที่ถูกผลิตขึ้นในโลกใบนี้กลายเป็นของเหลือทิ้ง ในขณะที่ยังมีคนขาดสารอาหารและอดอยากอยู่ทั่วโลก โลกนี้ช่างหาความพอดีไม่ได้เลยจริง ๆ นะคะ คนญี่ปุ่นสอนเรื่องการรู้จักคุณค่าของสิ่งของและไม่ใช้ของทิ้งขว้าง ภาษาญี่ปุ่นมีคำว่า Mottainai (もったいない)ศัพท์คำนี้มีความหมายว่า “น่าเสียดาย” แปลง่าย ๆ คือ หากเรามีของบางสิ่งบางอย่างที่ยังสามารถใช้ได้อยู่แต่กลับโยนทิ้งไปก็เป็นสิ่งที่เรียกว่า “น่าเสียดาย” จริง ๆ เลยค่ะ ว่ากันว่าคนญี่ปุ่นมีจิตสำนึกในเรื่องนี้มากเพราะเป็นความเชื่อในศาสนาชินโตว่าทรัพยากรทุกอย่างมีจิตวิญญาณและเป็นเทพเจ้าจึงควรใช้ด้วยความเคารพ ในแง่ของสภาพภูมิประเทศ ประเทศญี่ปุ่นเป็นหมู่เกาะเล็กๆและมีทรัพยากรจำกัด ยิ่งไปกว่านั้นยังเป็นประเทศที่มีประชากรหนาแน่นและเคยผ่านสภาวะยากจนแร้นแค้นหลังสงคราม เมื่อเป็นมหาอำนาจทางเศรษฐกิจของกินของใช้ก็ราคาแพงหูฉี่ คนญี่ปุ่นโดยมากจึงเป็นคนประหยัดและไม่ทิ้งอาหารหรือข้าวของซี้ซั้ว คนญี่ปุ่นรุ่นเก่า ๆ ยังนิยมเก็บออมเงินและเลือกที่จะใช้ชีวิตต่ำกว่ามาตรฐานที่ตัวเองสามารถจ่ายได้ คำว่า Mottainai มีที่มาจากการเคารพในทรัพยากรรอบๆตัวและใช้สิ่งเหล่านั้นด้วยความเคารพ เทียบกับคำในภาษาอังกฤษได้แก่ Reduce (การลด), Reuse (การใช้ซ้ำ), Recycle (การนำกลับมาใช้ใหม่), Respect (ใช้ด้วยความเคารพ) พ่อแม่มักจะสอนลูก ๆ ไม่ให้ทิ้งขว้างสิ่งใดไม่ว่าจะเป็น เมล็ดข้าว แผ่นกระดาษ เสื้อผ้า ฯลฯ ยังมีนักเขียนนามว่า Mariko Shinju แต่งหนังสือ ชื่อว่า Mottainai Grandma (สำนักพิมพ์ Kodansha) โดยในหนังสือใช้ตัวละครที่เป็นคุณยายเพื่อสอนและรณรงค์เรื่องนี้ทำให้หนังสือขายได้ไปกว่าห้าแสนเล่ม จิตสำนึกในเรื่อง Mottainai ได้ถูกสื่อออกมาในการกระทำหลายรูปแบบซึ่งดิฉันคิดว่าเป็นสิ่งที่ดีและเราสามารถเอาเป็นแบบอย่าง • กินอาหารให้หมด หากใครเคยไปพักบ้านคนญี่ปุ่นจะทราบดีว่าคนญี่ปุ่นมักจะรับประทานอาหารหมดเกลี้ยง หากเราไปเป็นแขกก็จะเป็นการไม่สุภาพหากรับประทานไม่หมดค่ะ ส่วนใหญ่จะรับประทานทุกอย่างที่ได้รับการจัดให้โดยไม่เขี่ยอะไรที่ไม่ชอบทิ้งเพราะถือเป็นการสิ้นเปลืองค่ะ • แม่บ้านญี่ปุ่นมักจะนำชุดกิโมโนที่ไม่ใช้แล้วมาแปรรูปเป็นของใช้ในบ้านได้แก่ รองเท้าแตะใส่ในบ้าน ที่ใส่ตะเกียบ กระเป๋าสตางค์ผ้า พัด ฯลฯ • ห้องน้ำมีที่ล้างมือบนโถชักโครก น้ำที่ล้างมือจะไหลลงมาข้างล่างเพื่อชำระล้างโถชักโครกต่อไป • ผ้าเช็ดตัวและผ้าเช็ดมือเก่าจะถูกตัดนำมาทำเป็นพรมหรือผ้าเช็ดถู • ปิดน้ำเมื่อไม่ใช้ ไม่เปิดน้ำทิ้งไว้ขณะแปรงฟันหรือทำธุระอื่น • กระดาษห่อของขวัญมักจะถูกแกะอย่างปราณีตเพื่อสามารถนำมาใช้ซ้ำได้ในโอกาสต่อไป • การแยกขยะเพื่อรีไซเคิลและการเก็บค่าทิ้งขยะหากมีการทิ้งของชิ้นใหญ่เช่น เครื่องใช้ไฟฟ้า ทั้งนี้เพื่อเป็นการลดความฟุ่มเฟือยเพราะหากซื้อเครื่องใช้ไฟฟ้า ใหม่บ่อย ๆ และต้องจ่ายเงินทุกครั้งที่ทิ้งก็คงจะอ่วมอยู่เหมือนกันนะคะ สำหรับขยะจะต้องแยกประเภททุกอย่างไม่ว่าจะเป็นขวดน้ำพลาสติกหรือกล่องนม คนญี่ปุ่นจะทำการตัดเป็นชิ้นเพื่อส่งรีไซเคิลต่อไปค่ะ สำหรับดิฉันเอง ดิฉันมักจะเก็บถุงพลาสติกที่ได้มาเวลาซื้อของจากห้างสรรพสินค้าเพื่อนำมาใช้เป็นถุงขยะ และจะเก็บหนังยางรัดของไว้ใช้ต่อไปด้วย คุณผู้อ่านมีไอเดียเรื่อง Mottainai กันอย่างไรบ้างคะ สามารถร่วมแสดงความคิดเห็นเพื่อเป็นประโยชน์กับท่านอื่น ๆ กันได้เลยค่ะ พิชชารัศมิ์ ได้เพิ่มช่องทางการสื่อสารกับผู้อ่านผ่านเพจ “Life Inspired by พิชชารัศมิ์”​ ฝากติดตามด้วยนะคะ บทความโดย:marumura.com​ หากชอบบทความของเรา สามารถติดตาม Facebook FanPage ของเราได้
Let us know if there is something that needs to be fixed: Feedback Form