ไทย
ไทย
TOP
Feature
ขนบธรรมเนียมและประเพณีของคนญี่ปุ่นในเดือนธันวาคม
2021-01-13

ขนบธรรมเนียมและประเพณีของคนญี่ปุ่นในเดือนธันวาคม

 

ประเทศญี่ปุ่นมี 4 ฤดูกาล ในแต่ละฤดูกาลนั้นมีเอกลักษณ์และมีการจัดเทศกาล รวมถึงประเพณีมากมายตลอดทั้งปี นอกจากบรรยากาศและทิวทัศน์ที่เปลี่ยนแปลงไปตามฤดูกาล แล้วคุณยังสามารถเห็นได้แม้กระทั่งอาหารประจำฤดูกาล เนื่องจากชาวญี่ปุ่นนิยมรับประทานอาหารที่ทำจากวัตถุดิบสดใหม่ตามฤดูกาลมาตั้งแต่อดีต หนึ่งในวิธีการเพลิดเพลินไปกับการเที่ยวญี่ปุ่นคือการรับวันสำคัญ เทศกาล และประเพณีของอาหารที่มีในแต่ละเดือน ในบทความนี้เราจะพูดถึงขนบธรรมเนียมและประเพณีของญี่ปุ่นที่ปฏิบัติกันมาหลายศตวรรษในเดือนธันวาคม

 

 

ธันวาคมมีชื่อเรียกอีกอย่างว่า "ชิวาสุ" (師走、 しわす) ชิ(師)หมายถึงพระภิกษุสงฆ์ และในช่วงปลายปีพระสงฆ์จะต้องทำพิธีกรรมหลายอย่างทำให้ยุ่งมาก ส่วน สุ(走) หมายถึงวิ่ง คุณลองนึกภาพพระภิกษุรูปหนึ่งกำลังวิ่งวุ่นทำงาน นี่คือชื่อเก่าเดือนธันวาคมของญี่ปุ่น

เทศกาลแสดงความเคารพเข็มเก่า: Harikuyo(針供養)

ในอดีตงานเย็บปักถักร้อยเป็นหนึ่งในหน้าที่หลักอย่างหนึ่งของผู้หญิง เข็มไม่เพียงแต่ใช้เย็บและซ่อมเสื้อผ้าเท่านั้น แต่ยังแม้แต่ในงานวัสดุแข็งไม่เหมือนกับในปัจจุบัน เข็มจะถูกใช้งานตลอดทั้งปีจะถูกวางไว้บนของอ่อนๆ เพื่อให้เข็มได้พักผ่อน และผู้หญิงจะทำการสวดมนต์ภาวนาเพื่อพัฒนาทักษะของพวกตนเอง ดังนั้นจึงมีธรรมเนียมในการวางเข็มบนเต้าหู้ในช่วงปลายปีเพื่อแสดงความเคารพเข็มที่เหนื่อยจากการถูกใช้งานมาตลอดทั้งปี ในภูมิภาคคันไซจะถูกจัดขึ้นในวันที่ 8 ธันวาคม ส่วนภูมิภาคคันโตจะตรงกับวันที่ 8 กุมภาพันธ์

 

 

ของขวัญสิ้นปี: O-seibo(お歳暮)

ในช่วงปลายปีตามธรรมเนียมปฏิบัติของชาวญี่ปุ่น จะมีการมอบของขวัญส่งท้ายปีเช่นเดียวกับไทย เพื่อคนแสดงความขอบคุณญาติ และเพื่อนที่ตลอดปีที่ผ่านมา แต่ช่วงเวลาการมอบของขวัญของญี่ปุ่นค่อนข้างชัดเจนแม่นยำ โดยทั่วไปจะมีการมอบของขวัญระหว่างวันที่ 10-20 ธันวาคม ในภูมิภาคคันโตประเพณีนี้เพิ่งเกิดขึ้นในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา และหลายคนเริ่มส่งของขวัญทันทีที่เริ่มต้นเดือนธันวาคม อย่างไรก็ตาม หากคุณต้องการส่งของขวัญไปยังโอกินาว่าของขวัญค่อนข้างถึงช้ากว่าภูมิภาคอื่น เพื่อความปลอดภัยควรส่งก่อนวันที่ 25 มิเช่นนั้นจะไม่ทันภายในปีอย่างแน่นอน

 

 

หากคุณพลาดช่วงเวลาสำหรับของขวัญสิ้นปีไปแล้ว ยังสามารถส่งการ์ดอวยพรปีใหม่ที่เรียกว่า Nengajo(年賀状)ได้ระหว่างวันที่ 26 ธันวาคมถึง 7 มกราคม ซึ่งคำว่า "Onenga" (お年賀) แปลว่า "การเฉลิมฉลองสำหรับปีใหม่" หากคุณยังพลาดการส่งNengajo(年賀状)อีก ก็ยังมี "Kanchu O-mimai" (寒中御見舞) ซึ่งเป็นการ์ดสอบถามสุขภาพในช่วงฤดูหนาว คราวนี้ควรส่งก่อนวันที่ 4 กุมภาพันธ์นะ

เตรียมพร้อมรับปีใหม่: Shogatsu Kotohajime (正月事始め)

การเตรียมพร้อมรับปีใหม่จะเริ่มในวันที่ 13 ธันวาคม คุณสามารถเห็นพระในวัดญี่ปุ่นร่วมกันกวาดวัด ปัดฝุ่น ตัดแต่งต้นไม้ในศาลเจ้าหรือวัด

 

 

คาโดมัตสึเป็นของประดับประจำปีใหม่ของญี่ปุ่น จะมีการถูกวางเป็นคู่ๆ หน้าบ้านเพื่อต้อนรับวิญญาณบรรพบุรุษหรือคามิแห่งการเก็บเกี่ยว โดยปกติแล้วจะทำจากไม้สนและไม้ไผ่ ในสมัยก่อนจะวางไว้ที่ทางเข้าประมาณวันที่ 13 ธันวาคม แต่ในปัจจุบันคุณจะสามารถเห็นมันถูกวางตกแต่งไว้ในช่วงวันที่ 26-28 ธันวาคม

 

 

อย่างไรก็ตามควรวางคาโดมัตสึก่อนวันที่ 28 ธันวาคม และไม่ควรวางในวันที่ 29, 30, 31 ธันวาคมคำว่า 29 ธันวาคม(นิจู - คุ) เป็นคำพ้องเสียงที่มีความหมายว่า "เจ็บปวดสองเท่า" นอกจากนี้การวางในวันที่ 30 หรือ 31 ธันวาคมเรียกว่า "ichiya-kazari" และถือว่าไม่สุภาพเนื่องจากแสดงว่าคุณยุ่งเกินกว่าที่จะทำจัดเตรียมล่วงหน้า

เหมายันฤดูหนาว(21-23ธ.ค.)

ในวันที่ 22 หรือ 23 ธันวาคมเรียกว่า เหมายัน หรือที่ชาวบ้านในไทยเรียกกันว่า ตะวันอ้อมข้าว เป็นวันที่การโคจรของโลกกับดวงอาทิตย์ใกล้กันมากที่สุด จึงทำให้โลกเกิดการเปลี่ยนแปลงของฤดูกาล ซึ่งในช่วงนี้จะเป็นวันที่กลางวันสั้นและกลางคืนยาวนานที่สุดของปี ชาวญี่ปุ่นมีธรรมเนียมในการอาบน้ำยูซุในวันเหมายัน หากคุณพักในเรียวกังในวันนี้คุณอาจมีโอกาสที่จะได้แช่มัน! ยูซุนั้นช่วยให้ระบบการไหลเวียนโลหิต และเพิ่มภูมิคุ้มกันอีกด้วย

 

 

นอกจากนี้ชาวญี่ปุ่นยังมีธรรมเนียมในการรับประทานฟักทองในวันเหมายันอีกด้วย ในอดีตที่ผักหายาก ช่วงฤดูหนาวฟักทองเป็นหนึ่งในอาหารหลักในการบำรุงร่างกาย และให้ความอบอุ่นร่างกาย กินฟักทองอุดมไปด้วยวิตามินสามารถช่วยป้องกันโรคหวัด และยังช่วยให้ผิวพรรณดีขึ้น

 

วันส่งท้ายปีเก่า(31 ธ.ค.)

วันส่งท้ายปีเก่าเป็นวันที่สำคัญที่สุดของปีสำหรับชาวญี่ปุ่น ในวันส่งท้ายปีที่วัดจะมีการตีระฆังต้อนรับปีใหม่ ระฆังจะดังขึ้น 108 ครั้ง ซึ่งแสดงถึงความทุกข์ทั้ง 108 ชนิดในโลก (joya-no-kane) งานวันส่งท้ายปีเก่าที่มีชื่อเสียงที่สุดคืองานที่วัด Chion-in ในเกียวโต คุณสามารถชมวิดีโอด้านล่างเพื่อสัมผัสประสบการณ์นี้

 

 

ประเพณีของวันส่งท้ายปีเก่าอีกอย่างหนึ่งคือการกิน toshi-koshi soba (年越しそば) เส้นโซบะยาวเป็นสัญลักษณ์ของอายุที่ยืนยาว และความแข็งแกร่งของต้นโซบะนั้นบ่งบอกถึงความยืดหยุ่น คนญี่ปุ่นเชื่อว่าหากทานโซบะในวันนี้จะทำให้มีอายุยืนยาว

 

 

วัตถุดิบในฤดูกาลนี้

ทุกวันนี้เราสามารถซื้อวัตถุดิบผัก ผลไม้ทุกชนิดได้ตลอดทั้งปี แต่อย่างไรก็ตามวัตถุดิบประจำฤดูกาลนั้นอร่อยที่สุดเสมอ ในเดือนธันวาคมนั้นมีวัตถุดิบดังต่อไปนี้: ・อาหารทะเล:ปลาอันโก (anko, 鮟鱇), ปลาปักเป้า (fugu, 河豚), ปลาบุริ (buri, 鰤), ปลามุทสึ (mutsu,鯥), กุ้ง (ebi, えび), ปู (kani, 蟹), หอยนางรม (kaki, 牡蠣), ปลิงทะเล (namako, 海鼠), สาหร่าย (shin-nori, 新のり)

 

・ผักและผลไม้: หัวไชเท้า, มันเทศ, แครอท, ต้นหอม, กะหล่ำปลี, ส้ม, แอปเปิ้ล, ยูซุ, ฟักทอง

 

 

หวังว่าบทความนี้จะช่วยให้คุณรู้จักขนมธรรมเนียมประเพณีของชาวญี่ปุ่นในช่วงเดือนธันวาคมมากขึ้น ขอให้การท่องเที่ยวญี่ปุ่นของคุณในครั้งหน้าสนุกยิ่งขึ้นไปอีก

 


★ คูปองส่วนลดในการช็อปปิ้งญี่ปุ่น หรือโปรแกรมแปลภาษาสินค้าต้อง IKIDANE App★ iOS / AndroidIKIDANE NIPPON LINE@
หากชอบบทความของเรา สามารถติดตาม Facebook FanPage ของเราได้
Let us know if there is something that needs to be fixed: Feedback Form